ปวดท้องโคลิกในเด็กทารก (Colic)

โคลิก เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงอาการปวดท้องจากภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีลมหรือแก๊สในช่องท้อง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยกับเด็กทารก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนไม่ได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่ต้องตื่นขึ้นมาดูแลในตอนกลางคืน


ลักษณะอาการ
โคลิกเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเด็ก แม้ว่าเด็กจะรู้สึกไม่สบายตัวและร้องงอแง แต่ก็เป็นภาวะซึ่งไม่เป็นอันตราย โดยอาการโคลิกจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 เดือน ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งบอกถึงอาการโคลิก คือ
• เด็กร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังจากที่เด็กกินนมแล้ว
• ขณะร้องไห้ เด็กจะงอเข่าเข้าหาท้องคล้ายว่ากำลังปวดท้อง
• เด็กถ่ายอุจจาระหรือมีอาการท้องเฟ้อในช่วงต้นหรือช่วงปลายของการร้องไห้
• ลักษณะการยิ้มเฝื่อนๆ หรือบริเวณรอบๆ ปากช้ำเป็นสีน้ำเงิน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กท้องอืด ท้องเฟ้อ
สาเหตุ
ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดอาการโคลิก ได้แก่
• ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่
• การให้เด็กทารกหย่านมแม่เร็วเกินไป
• เกิดจากฮอร์โมนในน้ำนมแม่
• ภูมิแพ้ (แพ้จากอาหารที่ทารกได้รับ หรือจากน้ำนมแม่)
• เด็กได้รับนมมากเกินไป
• การกลืนลมเข้าท้องมาก (เช่น รูที่จุกขวดนมผิดขนาด หรือเด็กอยู่ในตำแหน่งการดูดนมผิดท่าจึงทำให้เด็กดูดนมพร้อมกับอากาศเข้าไป ในท้องมากเกินไป)
• การร้องไห้ยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเพราะเด็กจะยิ่งกลืนลมเข้าท้องมาก
• มีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตั้งแต่เล็ก (วิธีนี้จะทำลายแบคทีเรียชนิดดีซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ที่มีหน้าที่ช่วยในการ ย่อยอาหาร จึงอาจมีผลทำให้เป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับเด็กที่จะต้องพัฒนาพฤติกรรมการ ขับถ่ายให้เป็นปกติ)
การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ
การรักษาอาการโคลิกด้วยสมุนไพรธรรมชาติดั้งเดิมเป็นวิธีที่ปลอดภัย ใช้กันเป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
• คาร์โมมายล์ (Chamomile), ผักชีลาว (Dill), ยี่หร่าฝรั่ง (Fennel) หรือจะเป็น เปปเปอร์มินท์ (Peppermint) สามารถใช้ได้ทีละชนิด หรือนำมาผสมรวมกันในรูปแบบของชาแบบเจือจางมากๆ หรือเป็นรูปแบบน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก โดยสามารถผสมกับนมให้เด็กดูดช่วงท้าย
• อาหารเสริมพรีไบโอติกใส่ในนมหรือผสมนมแล้วแต้มบริเวณหัวนมแม่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการโคลิกที่มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
การดูแลตนเอง
หากเด็กทารกดูดนมจากขวด รูจุกนมต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันไม่ให้เด็กดูดลมเข้าไปในท้อง ซึ่งเทคนิคก็คือใช้เข็มร้อนๆ ลอดผ่านรูจุกนมโดยเข็มสามารถลอดผ่านได้
ควรพูดคุยกับผู้ที่สามารถให้คำปรึกษา รวมทั้งกุมารแพทย์หรือพยาบาล เรื่องเทคนิคการให้นมบุตรสำหรับคุณและลูก เพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ดี
ข้อควรรู้
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่
• ลูกของคุณไม่เคยมีอาการโคลิกมาก่อน
• อาการโคลิกเกิดขึ้นร่วมกับไข้ ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก
• เด็กส่งเสียงร้องไห้เจ็บปวด ไม่ใช่การร้องงอแง ซึ่งมาจากการได้รับบาดเจ็บหรือป่วยจากโรคอื่นๆ
• เด็กมีอายุมากกว่า 3 เดือน และยังมีอาการโคลิกอยู่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านพฤติกรรมหรือโรคภัยต่างๆ
• เด็กที่เป็นโคลิกมีน้ำหนักลด และไม่หิวนม แสดงว่าเด็กไม่สบาย

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับที่ ปวดท้องโคลิกในเด็กทารก (Colic)

  1. nan พูดว่า:

    มีประโยชน์ดีมากๆคะ ลูกของหนูกำลังเข้าภาวะนี้พอดีเลย มาเจอบทความนี้ลดความเรียดลงได้มากที่เดียวเลยคะ ขอบคุณมากค่ะ

ใส่ความเห็น